พื้นฐาน Basic SEO
17. SEO Basic 01: View on Youtube;
PDF Resource: Click Here
18. SEO Basic 02: View on YouTube
PDF Resource: Click Here
พื้นฐานเอสอีโอ (Basic SEO)
SEO หรือ Search Engine Optimization คือการโปรโมทเว็บไซต์แบบหนึ่ง (โดยทั่วไปเป็นจะต้องทำก่อนเป็นอันดับแรกหลังจากการทำเว็บไซต์) เพราะการทำ SEO จะเป็นการโปรโมทเว็บไซต์ที่มีการลงทุนไม่มาก (หรือฟรีก็ได้) อีกทั้งสามารถทำได้ตลอดเวลา และโดยทั่วไปแล้วหากทำได้ถึงระดับหนึ่งและการแข่งขันก็ไม่มาก การทำเอสอีโออาจต้องการทำเพียงแค่ครั้งเดียว
การทำ SEO เกิดจากความคิดที่ว่าผู้ใช้อินเตอร์เน็ตส่วนมากเมื่อต้องการข้อมูล หรือค้นหาสิ่งใด ๆ ที่ต้องการก็จะทำการค้นหาจากเซิร์ชเอนจิ้น (Search Engine) อย่าง “กูเกิ้ล” (Google) หรือ “ยาฮู้” (Yahoo) หรือว่า “ปิง” (Bing) เป็นอันดับแรกด้วยความหวังที่ว่าเซิร์ชเอ็นจิ้น (Search Engine) จะทำการค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องที่สุดกับสิ่งที่ผู้ค้นหาต้องการออกมาให้ได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ได้มากที่สุด (ซึ่งนี่ก็เป็นความต้องการของเซิร์ชเอนจิ้นต่าง ๆ เช่นกัน)
นักการตลาดบนอินเตอร์เน็ต (Internet Marketer:IM) ที่หัวใสจึงได้พยายามค้นหาหลักการทำงานต่าง ๆ ที่เซิร์ชเอนจิ้น (Search Engine) ต่าง ๆ ใช้ในการเลือกเฟ้นหาข้อมูลมาแสดงให้แก้ผู้ที่ต้องการค้นหาข้อมูล แล้วทำการป้อนข้อมูลทางการตลอดย้อนเข้าไปให้เป็นไปตามหลักตามขั้นตอนของ Search Engine ให้ได้มากที่สุดเพื่อให้เว็บไซต์ หรือข้อมูลของตนนั้นจะได้รับการแสดงออกมาให้ได้มากที่สุดและตรงเป้าหมายทางการตลาดให้ได้มากที่สุด
ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผู้ที่ค้นหากในเซิร์ชเอนจิ้นนั้นจะทำการค้นหาผ่านคีย์เวิร์ด (Keyword) ทำให้การค้นหานั้นเป็นไปตามเป้าหมายของผู้ค้นหา นักการตลาดที่สามารถนำข้อมูลทางการตลาดของตนที่ตรงตามความต้องการของผู้ค้นหาและเป้าหมายทางการตลาดของตนได้จึงจะได้ผลลัพธุ์ทางการตลาดที่ดีที่สุด
การทำเอสอีโอ (SEO) สามารถแบ่งออกได้เป็นสองส่วนใหญ่ ๆ คือ
- การทำออนเพจเอสอีโอ (On-Page SEO) เนื่องจากเพื่อให้เนื้อหาของข้อมุลที่มีในเพจนั้นต้องมีความใกล้เคียงกันกับความต้องการของผู้ค้นหาให้ได้มากที่สุด เซิร์ชเอนจิ้น (Search Engine) จะทำการแสกนข้อมูลในเว็บไซต์นั้น ๆ แล้วเก็บ“คียเวิร์ด” (keyword) ไว้ในฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการคัดกรองการแสดงผลให้แก่ผู้ค้นหาต่อไป
- การทำออฟเพจเอสอีโอ (Off-Page SEO) นอกจากนี้เซิร์ชเอนจิ้น (Search Engine) จะต้องการหาความสอดคล้องกับข้อมูลในเว็บเพจนั้น ๆ ว่าเป็นไปตามความต้องการของผู้ค้นหาหรือไม่ผ่านการเชื่อมโยง (Link) จากเว็บเพจอื่น ๆ โดยเซิร์ชเอนจิ้นจะดูจากความสอดคล้องกันระหว่าง “คียเวิร์ด”(Keyword) จากแต่ละเว็บเพจด้วยว่ามีความเกี่ยวข้องกันหรือไม่
19. Basic SEO 03: View on YouTube
PDF Resource: Click Here
เรื่องการทำออฟเพจเอสอีโอ (Off-Page SEO) มีความสับสนวุ่นวายอยู่พอสมควรเพราะมีตัวแปรมากมายเข้ามาเกี่ยวข้องนอกจากด้านความเกี่ยวข้องของคีย์เวิร์ด โดยทั่วไปแล้วการทำออฟเพจเอสอีโอ (Off-Page SEO) จะหมายถึงการทำแบ๊คลิ๊งค์ (Back Link) เข้าสูเว็บไซต์ของเรา
การทำออฟเพจเอสอีโอหรือแบ๊คลิ้งค์ (Back Linking)
หากเราเปรียบการทำเว็บไซต์เหมือนการเปิดร้านหรือสร้างบ้านสักหลังการทำลิ๊งค์เข้าสู่เว็บไซต์ก็เหมือนกับการทำถนนเข้าสู่บ้านของเรา เป็นการปูทางให้กับผู้ที่ไม่รู้จักเว็บของเรา เมื่อเห็นชื่อใน Anchor Text (หมายถึงข้อความที่แสดงเป็นลิ๊งค์ของเรา) ของเราแล้วเกิดความสนใจ (เหมือนเห็นหน้าบ้านของเราว่าสวยงามหรือมีความสนใจในร้านของเรา) จึงคลิ๊กเข้ามาเยี่ยมชม (เหมือน “จึงขับรถหรือเดินเข้ามาเยี่ยมชม”)
นอกจากนี้เซิร์ชเอนจิ้นยังใช้แบ๊คลิงค์ในอีกกรณีหนึ่งด้วยนั่นคือเหมือนเป็นการโวตจากเว็บเพจอื่น ๆ ที่ลิ้งค์มาเว็บเพจนี้นั้น หากเป็นลิ้งค์ที่มีความเกี่ยวข้องการลิ๊งค์มาย่อมแสดงได้ว่าเนื้อหาในเพจที่เราทำนั้นมีความน่าเชื่อถือในระดับหนึ่ง หากลิ้งค์ที่ลิ้งค์มายังเว็บเรานั้นมีความเกี่ยวข้องมากและมีความจากหลาย ๆ เว็บที่มีเนื้อหาสอดคล้องกัน (มีคีย์เวิร์ดหลัก และคีย์เวิร์ดรองที่เกี่ยวข้องกัน) ความน่าเชื่อถือของเว็บเราก็จะได้คะแนนมากขึ้นในคีย์เวิร์ดหลักนั้น ๆ
นอกจากเรื่องของคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องแล้ว เรื่องของความน่าเชื่อถือของเพจหรือเว็บไซต์ที่ลิ๊งค์มายังเว็บเรานั้นมีความน่าเชื่อถือเพียงใด การแบ่งระดับความน่าเชื่อของเว็บไซต์มีหลายมาตรฐานด้วยกัน แตกต่างกันไป ซึ่งในที่นี้จะขอพูดถึง ๒ มาตรฐานคือ “กูเกิ้ลเพจแร้งค์” (Google Page Rank) และ “อเล็กซ่าเพจแร้งค์” (Alexa Page Rank) สำหรับเรื่องนี้นั้น “กูเกิ้ล” (Google) ให้แบ่งระดับความน่าเชื่อถือไว้เป็นระดับ ๑๐ ระดับด้วยกันหรือเรียกว่า “เพจแร้งค์” (Page Rank) ซึ่งดูจากหลาย ๆ ส่วนรวมกัน เช่นอายุของเว็บไซต์ ปริมาณการเข้าชม อัตตราการเปลี่ยนแปลงของเว็บไซต์ ความน่าเชื่อถือด้านเคีย์เวิร์ดของเว็บไซต์
โดยส่วนใหญ่การทำแบ๊คลิ้งค์นั้นจะหาได้ง่ายในขั้นต้นจาก…
- Forums ต่าง ๆ ไม่ว่าจะมาจาก ข้อความใน Forum หรือจาก Signatures
- Blog/Web Directory จากซับมิตลิ๊งค์ไว้กับ Blog/Web Directory
- Social Bookmarking เช่น Digg, Delicious
- Web 2.0 เช่น Hi5, Facebook, Myspace
- Social Media เช่น You Tube, Dailymotion
- Submit Blog Comment
20. SEO Basic 04: View on YouTube
PDF Resource: Click Here
เมื่อ SEO เกี่ยวข้องกับเรื่องของคีย์เวิร์ด (Keyword) ตั้งแต่เรื่องของโดเมนเนม (Domain) จำนวนของคีย์เวิร์ด (Keyword) ภายในเพจ ความเกี่ยวข้องและคุณภาพของเนื้อหา ดังนั้นการเริ่มต้นทำการโปรโมทเว็บไซต์ (Promote Website) จริง ๆ แล้วเรียกได้ว่าเริ่มต้นตั้งแต่ยังไม่ได้สร้างเว็บไซต์เลยเสียด้วยซ้ำ เรียกว่าเริ่มตั้งแต่การเลือกคีย์เวิร์ด (Keyword) ทั้งคีย์เวิร์ดหลัก (Main Keyword) และคีย์เวิร์ดรอง (Latent Semantic Index Keyword – LSI) จนถึงการเลือกโดเมนเนม (Domain) ให้ประกอบด้วยคีย์เวิร์ด (Keyword) ที่เราต้องการ
เมื่อได้โดเมน (Domain) ที่เราต้องการแล้ว เมื่อทำการติดตั้งเวิร์ดเพรส (WordPress) การที่เราจะเพิ่มข้อมูลลงในเว็บไซต์ (Webiste) ของเรานั้นเราต้องคำนึงถึงความเกี่ยวข้องของคีย์เวิร์ด (Keyword Relevancy) จำนวนของคีย์เวิร์ด (Number of Keywords) ตลอดความหนาแน่นของคีย์เวิร์ด (Keyword Density) ให้พอเหมาะพอสมและไม่มากไม่น้อยจนเกินไป และที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดก็คือเรื่องของบทความ (Content) บทความของคุณต้องสามารถทำให้ผู้ชมเว็บไซต์ (Website Visitors) ของคุณอ่านบทความด้วยความตื่นเต้น และบทความเหล่านั้นสามารถอ่านทำความเข้าใจได้ด้วย นั่นหมายถึงบทความที่นำมาลงก็ต้องมีคุณภาพพร้อมกับปริมาณคีย์เวิร์ดที่พอเหมาะด้วย
ผู้ใช้เวิร์ดเพรส (WordPress) จะได้เปรียบผู้ใช้ (Content Management System) CMS รูปแบบอื่น ๆ ในส่วนหนึ่งคือเวิร์เพรสประกอบด้วยฟังก์ชั่นและปลั๊กอินที่พร้อมสนับสนุนการทำเอสอีโอ (SEO) ทั้งแบบ ออนเพจ (On-Page) และ ออฟเพจ (Of-page)
นอกจากนี้การทำแบ๊คลิ้งค์ (Backlink) สู่เว็บไซต์ (Website) ของเรานั้นอันเหมือนจะเป็นการนำทางผู้ชมสู่เว็บไซต์ของเรายังเป็นการทำให้เหมือนเว็บเพจอื่น ๆ เหล่านั้นโหวดคะแนนให้เราต่อลิ๊งค์ในแง่ของความเกี่ยวข้องในคีย์เวิร์ดที่นำมาใช้เป็น Anchor Text (หมายถึงข้อความที่แสดงเป็นลิ๊งค์) ดังนั้นควรที่จะพยายามให้ลิ๊งค์ที่ส่งมายังเว็บของเรานั้นประกอบด้วยคีย์เวิร์ดของเราด้วย
ดังนั้นในแง่ของเอสอีโอ (SEO) แล้วไม่ว่าจะเป็น Social Bookmarking, Web 2.0 (บางครั้งที่ใช้ CMS ของเวิร์ดเพรสอาจเรียก WordPress MU), Article Marketing, Social Media, Video Marketing, Sharing PDF, Pod Casting และ Press Release นอกจากจะเป็นการทำสร้างหนทางให้ผู้ชมเข้าสู่เว็บไซต์ของเราแล้วยังเป็นการโหวดคะแนน SEO ให้กับเว็บของเราด้วย
อาจจะดูเป็นงานที่หนักสำหรับการทำเอสอีโอ (SEO) แต่หากทำได้ถูกต้องแล้วการทำเอสอีโอ (SEO) จะเป็นการหาผู้ชมเข้าสู่เว็บไซต์ของเราจำนวนมากโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เลย