วาสนาในพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาในประเทศไทยมีการแปลภาษาบาลีสันสกฤต อธิบาย และขยายความสืบต่อกันมาจนบางคราวก็ทำให้ความหมายที่แท้จริงของคำศัพท์นั้นผิดเพี้ยนไป “วาสนา” ก็เป็นคำหนึ่งที่ความหมายผิดเพี้ยนไป
เราคนไทยมักเห็นว่า “วาสนา” คือสิ่งดี ๆ ที่หล่นมาจากฟ้า ใครมี “วาสนาดี” ก็มีชีวิตที่ดี ใคร “วาสนาไม่ดี” ก็อาจจะทำให้ชีวิตล้มเหลว แต่ในแท้จริงแล้ว “วาสนา” ในรากศัพท์เดิมนั้นแปลว่า “ความเคยชิน” คำว่า “วาสนาดี” จึงหมายถึงมีความเคยชินที่ดี นี้จึงเป็นข่าวดีว่าเราสามารถ “สร้างวาสนา” ที่ดีให้กับตนเองและลูกหลานได้ในชาตินี้ ทันที เดี๋ยวนี้
ถ้าจะให้เทียบกับคำสมัยนี้ “วาสนา” คงจะเทียบได้กับคำว่า “บุคลิกภาพ” “ลักษณะนิสัย” หรือ Habit นั่นเอง
เมื่อเข้าใจถูกต้อง เราจะเห็นได้ว่า วาสนานั้นเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงชีวิตเราไปในทางที่ดีได้หรือแย่ลง อยู่ที่การฝึกตน พัฒนาตน เพื่อความเคยชินที่ดี ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดนิสัยการสร้างกรรมที่ดีได้
ดังนั้นถ้าเราเข้าใจถูกต้องกับคำว่า “วาสนา” ก็จะเห็นว่าสิ่งเหล่านี้ก็หนีไม่พ้นหลักของพระพุทธศาสนาคือการเชื่อในกรรมหรือการกระทำที่ดีนั่นเอง