ความแตกต่างระหว่างฉันทะและตัณหา

ฉันทะและตัณหาเป็นปัญหากันมาช้านานว่ามันต่างกันยังไง สุดท้ายมีบางคนเห็นตรงกันบ้างไม่ตรงกันบ้าง บ้างก็ว่าเหมือนกัน บ้างก็ว่าต่างกันตรงนั้นตรงนี้

ในทางพระธรรมฉันทะนั้นเป็นชื่อของความยินดี เช่นเดียวกันกับตัณหาแต่ตัณหานั้นคือความยินดีและยินร้ายในโลก (กามคุณ ๕ และ ธรรมารมณ์ ๑) จึงทำให้มีตัณหาเกิดขึ้นเป็นความอยากได้อยากมีอยากเป็น ไม่อยากได้ ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ตัณหานั้นแบ่งได้เป็น ๓ ประเภท ได้แก่ กามตัณหา (คือความใคร่ในกามคุณ) ภวตัณหา(คือความอยากได้ อยากมีอยากเป็น) วิภวตัณหา(คืออยามไม่อยาก ได้ ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น) และแบ่งจากสิ่งที่ติดใจยินดีได้เป็น ๖ ส่วนเรียกว่า “ตัณหา ๖” คือ

  • รูปตัณหา
  • สัททตัณหา
  • คันธตัณหา
  • รสตัณหา
  • โผฏฐัพพตัณหา
  • ธัมมตัณหา

ต่างกับฉันทะเป็นธรรมที่เป็นกลางโดยทั่วไปฉันทะเป็นความยินดีเป็นความยินดีที่ไม่เนื่องด้วยกามเช่น อยากให้เขาได้ดี อยากให้เขาพ้นทุกข์ อยากให้เขาเป็นสุข ความอยากทำงานให้ดี และอุเบกขาเป็นต้น จนกว่าจะมีการระบุว่าเป็นความยินดีในกามเรียกว่า กามฉันทะ

พูดง่าย ๆ ถ้าเป็นตัณหาจะมีลักษณะ อยากได้ อยากมี อยากเป็น ไม่อยากได้ไม่อยากมี ไม่อยากเป็นนั้นเรียกว่าเป็นภวตัณหาและวิภวตณหา หรือแม้ว่ายกตัวอย่างเปรียบเทียบให้เห็นได้ชัดคือ ถ้าอยากเป็นคนดี (นี้เป็นตัณหา) แต่ อยากทำความดี (นี้เป็นฉันทะ)

Similar Posts

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *